สุโขทัย CRAFTS AND FOLK ART
“ไทครั่ง หรือ ลาวครั่ง” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง บริเวณเมืองเวียงจันทน์ ก่อนจะเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเหตุผลจากสงครามในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะในช่วงกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง เช่น ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี นครปฐม พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก กำแพงเพชร และสุโขทัย เป็นต้น
- สันนิษฐานว่าในสมัยที่พลัดถิ่นมาสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนไปเสียทุกอย่าง
แม้กระทั่งเครื่องมือหากิน จึงต้องเลี้ยงครั่งสำหรับย้อมผ้า เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไร จึงทำให้ถูก
เรียกว่า "ลาวขี้ครั่ง” หรือ "ลาวครั่ง”
- สันนิษฐานว่าเพราะผ้าซิ่นของคนกลุ่มนี้มีสีแดงครั่ง จึงเรียกว่าไทครั่ง หรือลาวครั่ง
ที่บ้านเกาะน้อย ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มีชุมชนไทครั่งที่อพยพย้ายถิ่นมาจากจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อราว พ.ศ.2500 โดยยังคงรักษาอัตลักษณ์วิถีชีวิตส่วนใหญ่ไว้ได้อย่างดี และรู้จักผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเข้ากับวัฒนธรรมในพื้นที่ได้อย่างน่าสนใจอีกด้วย หนึ่งในอัตลักษณ์ของไทครั่ง คือ "ผ้าซิ่น” ที่ทอตกแต่งด้วยเทคนิค "จก” ส่วนใหญ่ก็จะเน้น "สีแดงครั่ง” เป็นสีหลัก ผสมผสานกับผ้าที่สร้างลวดลายด้วยเทคนิคการ "มัดหมี่” โดยแต่เดิมนั้น คนวัยสาวจะใช้ "ผ้าตีนจกพื้นสีแดง” คนวัยสูงอายุจะใช้ "ผ้าตีนจกพื้นสีดำซึ่งจะมีการทอตีนซิ่นแบบสองตะเข็บ เป็นผ้าหน้ากว้างเท่ากับขนาดความกว้างของตัวซิ่น จากการสอบถาม จาก ลุงอนุน เทียนสัน, ป้านารี เทียนสัน และคุณยายพิง พลีสัตย์ ชาวไทครั่งบ้านเกาะน้อย พบว่าผ้าซิ่นในชุมชนไทครั่งบ้านเกาะน้อย มี 4 แบบดังนี้

คือ ผ้าซิ่นมัดหมี่ลายเดียวทั้งผืน โดยไม่มีวิธีการทอแบบอื่นผสม

คือ ผ้าซิ่นมัดหมี่ที่มีวิธีการจกขั้นลวดลายมัดหมี่ มีลักษณะเป็นแถว ขั้นสลับ กับลายมัดหมี่ เช่น ลายป้องอ้อย ลายขิดไม้รอด ลายปู

คือ ผ้าซิ่นมัดหมี่ที่มีวิธีการทอที่มีลักษณะเป็นแถว ขั้นลายเล็ก และลายใหญ่ แต่ใช้วิธีการจกลาย

คือ ผ้าทอจกลายต่าง ๆ ทั้งผืน
ผ้าทอไทครั่งนั้นสามารถแบ่งโครงสร้างลวดลายออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ๆ คือ
1. โครงสร้างลายแบบ "หน่วย” เป็นการทอที่จัดองค์ประกอบที่ประกบกันสองด้านให้เป็นหน่วย (ไทยวนในล้านนาจะเรียกว่า "ลายโคม”) ซึ่งสามารถทอซ้อนชั้นลวดลายต่าง ๆ เป็นหลายชั้นได้ ภายใต้โครงสร้างหน่วย ซึ่งการเก็บตะกอลายจะเก็บเพียงครึ่งดอกแล้วใช้ตะกอเดิมทอไล่ย้อนไป
2. โครงสร้างลายแบบ "เอี้ย” เป็นการทอผ้าลายจกที่จัดองค์ประกอบในโครงสร้างหยักฟันปลา มองไกลๆ คล้ายลายการขดไปมาของพญานาค ซึ่งการเก็บตะกอลายจะเก็บเต็มลาย โดยสามารถทอซ้อนชั้นลวดลายต่างๆ ได้มากชั้นกว่าแบบแรก สำหรับการเรียกชื่อลวดลายจะเรียกลายหลักต่อด้วยลายประกอบ เช่น ลายขอขื่อซ้อนขอกา ลายขอกาซ้อนปีกไก่ ฯลฯ ที่น่าสนใจคือ ลายจบท้ายนั้นมักนิยมทอประกบทั้งด้านบนและด้านล่างด้วย "ลายขอระฆัง” หรือบางชุมชนเรียกว่า "ลายสร้อยสา” เป็นต้น
สำหรับการเรียกชื่อลวดลายจะเรียกลายหลักต่อด้วยลายประกอบ เช่น ลายขอขื่อซ้อนขอกา ลายขอกาซ้อนปีกไก่ ฯลฯ ที่น่าสนใจคือ ลายจบท้ายนั้นมักนิยมทอประกบทั้งด้านบนและด้านล่างด้วย "ลายขอระฆัง” หรือบางชุมชนเรียกว่า "ลายสร้อยสา” เป็นต้น




1. ลายต๋วยปิ่น
2. ลายขอระฆัง
3. ลายเป็ดน้อย



1. ผ้าคลุมหัวนาค
2. ผ้าคลุมหลังม้า สำหรับคลุมหลังม้าให้นาคนั่งในขบวนแห่นาค
3. หมอนขิด
4. หมอนหก
5. หมอนลายนาค
6. หมอนท้าว
7. ผ้าปูนอน
8. ตุง
แหล่งที่มา :
นาย อนุน เทียนสัน ประทานกลุ่มไทครั่งบ้านเกาะน้อย